จอประสาทตาเสื่อม (Age-Related Macular Degeneration: AMD) คือ ภาวะที่นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น ซึ่งพบได้มากในผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสาเหตุจากจุดรับภาพตรงกลางของจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งโรคจอประสาทตาเสื่อมเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและประเภท
โรคจอประสาทตาเสื่อมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.จอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง (Dry AMD) มีจุดสีเหลืองบริเวณจอรับภาพตรงกลางของประสาทตาซึ่งเรียกว่า ดรูเซ่น (Drusen) สะสมอยู่ใต้จอประสาทตา จุดสีเหลืองนี้ทำลายเซลล์รับแสงซึ่งนำไปสู่การมองเห็นที่บิดเบี้ยว โรคมักแสดงอาการอย่างช้าๆ และในบางกรณีอาจกลายเป็นจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียกได้
2.จอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก (Wet AMD) พบเพียง 10 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด เกิดจากเส้นเลือดฝอยด้านหลังจอประสาทตาผิดปกติ ซึ่งมีของเหลวในหลอดเลือดรั่วไหลไปโดนจุดรับภาพ ทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างมากทั้งแบบถาวรและเฉียบพลัน
อาการจอประสาทตาเสื่อม
1.อาการจอประสาทเสื่อมชนิดแห้ง อาการในช่วงแรก ผู้ป่วยอาจมองเห็นภาพเบลอและจุดดำหรือจุดบอดตรงกลางภาพ เมื่อเวลาผ่านไปจุดดำในภาพจะเริ่มขยายใหญ่ซึ่งส่งผลต่อการมองเห็น ทำให้อ่านหนังสือลำบากหรือมองเห็นรายละเอียดไม่ชัด
2.อาการจอประสาทเสื่อมชนิดเปียก ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นภาพบิดเบี้ยว พร่ามัว เห็นจุดดำขนาดใหญ่ในภาพซึ่งเป็นผลมาจากการที่เลือดไหลไปอยู่ในจุดรับภาพอาการโดยทั่วไปที่เหมือนกันของโรคจอประสาทตาเสื่อมทั้ง 2 ประเภท มีดังนี้
สาเหตุของจอประสาทตาเสื่อม โรคจอประสาทตาเสื่อมนี้เป็นไปตามวัย สาเหตุเกิดจากจุดรับภาพซึ่งอยู่ตรงกลางจอประสาทตามีปัญหา โดยจุดรับภาพนี้เป็นจุดที่มีความไวต่อแสงช่วยในการมองเห็นสิ่งต่างๆ ให้เห็นได้ชัดเจนที่สุดของจอประสาทตา
1.จอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง เกิดจากเซลล์รับแสงในจุดรับภาพเริ่มเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ ตามวัยที่เพิ่มขึ้น อาจมีของเสียสะสมอยู่ในจอประสาทตาซึ่งเรียกว่าดรูเซ่น และเซลล์รับแสงในจุดรับภาพมีจำนวนน้อยลง การมองเห็นบริเวณกลางภาพแย่ลง ทำให้ต้องใช้แสงสว่างมากกว่าปกติเมื่อต้องอ่านหนังสือหรือทำกิจกรรมระยะใกล้
2.จอประสาทเสื่อมชนิดเปียก เส้นเลือดฝอยเกิดใหม่ใต้จุดรับภาพขยายจำนวนมากขึ้น ถ้าเส้นเลือดฝอยก่อตัวผิดตำแหน่ง ทำให้ส่งผลเสียมากกว่าผลดีเพราะของเหลวในเส้นเลือดจะไหลซึมเข้าตา และทำให้ ประสิทธิภาพการทำงานของบริเวณจุดรับภาพลดลง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม โอกาสเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย ได้แก่
การวินิจฉัยจอประสาทตาเสื่อม
การรักษาจอประสาทตาเสื่อม ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาจอประสาทตาเสื่อมให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาดูแลดวงตาเพื่อช่วยป้องกันการสูญเสียการมองเห็นได้ หรือชะลออาการป่วยของโรค
การรักษาจอประสาทเสื่อมชนิดแห้ง
การรักษาจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก
ภาวะแทรกซ้อนของจอประสาทตาเสื่อม หนึ่งในภาวะแทรกซ้อนของโรคจอประสาทตาเสื่อม คือ ผู้ป่วยไม่สามารถทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเองได้ดีเท่าเดิม เนื่องจากการมองเห็นลดลง เช่น การอ่านและการขับขี่ เป็นต้น โดยประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมประสบกับความวิตกกังกลหรือซึมเศร้า ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ไม่สามารถขับรถยนต์ได้หรือหากจำเป็นต้องขับรถ แพทย์จะให้ผู้ป่วยทดสอบการมองเห็นก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยสามารถควบคุมรถได้
การป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อม โรคจอประสาทตาเสื่อมยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผล แต่มีวิธีช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคได้ โดยการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เช่น ออกกำลังกายให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่ดีต่อร่างกาย ควบคุมน้ำหนักและ เลิกบุหรี่ แม้จอประสาทตาเสื่อมจะไม่สามารถป้องกันหรือรักษาได้ แต่หากได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆ มีการตรวจสุขภาพกายและตรวจสุขภาพตาอย่างสม่ำเสมอ ได้รับการรักษาทันท่วงทีจะช่วยชะลอความรุนแรงของโรค และลดโอกาสการสูญเสียการมองเห็น
*ขอขอบคุณ แหล่งข้อมูลอ้างอิง #พบแพทย์ Website : https://www.pobpad.com/จอประสาทตาเสื่อม
โทรหาเราที่เบอร์นี้