ต้อกระจก (Cataracts) เป็นโรคที่เลนส์แก้วตามีความขุ่นมัวจนกระทบต่อการมองเห็น เมื่อจอประสาทตารับภาพได้ไม่ชัดเจนผู้ป่วยจึงมองเห็นภาพต่างๆ อย่างพร่ามัว โรคต้อกระจกนี้ไม่ได้ทำให้มีอาการเจ็บหรือระคายเคืองใดๆ ที่ตา โดยอาจเกิดกับตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้างและไม่อาจแพร่กระจายจากตาข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งได้
อาการของโรคต้อกระจก โรคต้อกระจกนั้นยากที่จะสังเกตได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม เนื่องจากต้องใช้เวลาหลายปีกว่าอาการของต้อกระจกจะเพิ่มมากขึ้นจนกระทบต่อการมองเห็น โดยผู้ป่วยมักมีอาการดังนี้
สาเหตุของโรคต้อกระจก เลนส์แก้วตาของคนเราประกอบด้วยน้ำและโปรตีนเป็นส่วนมาก ปกติโปรตีนเหล่านี้จะเรียงตัวเป็นระเบียบทำให้แสงผ่านเข้าสู่เลนส์ได้ และเลนส์มีลักษณะใส ต้อกระจกเกิดจากการที่โปรตีนในเลนส์แก้วตาสะสมเป็นกลุ่มปกคลุมพื้นที่ในบริเวณแก้วตาจนทำให้เลนส์ขุ่นมัวขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งโรคต้อกระจกอาจแบ่งได้ตามสาเหตุการเกิดต่อไปนี้
โรคต้อกระจกยังอาจมีสาเหตุจากปัจจัยอื่นประกอบ ได้แก่ บุคคลในครอบครัวมีประวัติป่วยด้วยโรคนี้ รับประทานอาหารที่วิตามินไม่ครบถ้วน ต้องเผชิญแสงแดดเป็นเวลานานในชีวิตประจำวัน หรือพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์มาก เป็นต้น
การวินิจฉัยโรคต้อกระจก
การรักษาโรคต้อกระจก โรคต้อกระจกในระยะแรกๆ บรรเทาได้ด้วยการตัดแว่นสายตาใหม่ สวมแว่นกันแดดกันแสงสะท้อนหรือการใช้เลนส์ขยายจนกว่าต้อกระจกจะเริ่มกระทบต่อการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน จึงจะทำการผ่าตัดซึ่งเป็นวิธีรักษาเดียวในปัจจุบัน โดยต้องใช้เวลา การมองเห็นหลังการผ่าตัดจึงจะดีขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นปกติ แต่หากผู้ป่วยมีโรคตาชนิดอื่น เช่น จอประสาทตาเสื่อมร่วมด้วย ก็อาจส่งผลให้การมองเห็นไม่อาจดีขึ้นร้อยเปอร์เซ็นต์ได้
ก่อนการผ่าตัดต้อกระจก การผ่าตัดต้อกระจกขึ้นอยู่กับการตัดสินใจทั้งของผู้ป่วยและแพทย์ผู้ดูแลร่วมกัน การผ่าตัดต้อกระจกไม่จำเป็นต้องรีบร้อน เนื่องจากการเลื่อนการผ่าตัดไม่ได้ส่งผลต่อการมองเห็น แต่สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นต้อกระจกอาจมีอาการทรุดลงได้เร็วกว่าผู้ป่วยทั่วไป
กรณีผ่าตัดต้อกระจกทั้ง 2 ข้าง สามารถทำได้เพียงครั้งละข้าง โดยต้องรอให้ตาข้างแรกที่ผ่าตัดหายดีเสียก่อนแล้วจึงจะผ่าตัดอีกข้างหนึ่งได้ ก่อนการผ่าตัด 1-2 อาทิตย์ แพทย์จะให้ผู้ป่วยทำแบบทดสอบต่างๆ เช่น วัดความโค้งกระจกตา ขนาดของดวงตา และระดับของสายตา เพื่อเลือกเลนส์แก้วตาเทียม (Intraocular Lens: IOL) ที่เหมาะสมกับดวงตาของผู้ป่วย ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องงดรับประทานอาหาร 12 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด
ระหว่างการผ่าตัดต้อกระจก การผ่าตัดมีวิธีผ่าตัดทั้งรู้สึกตัวและไม่รู้สึกตัว การรักษาแบบรู้สึกตัวทำได้โดยใช้ยาชาบริเวณรอบดวงตา จากนั้นหยดยาเพื่อเปิดม่านตาให้กว้างและล้างทำความสะอาดบริเวณรอบ ก่อนจะนำเอาเลนส์แก้วตาที่มัวออกแล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมแทนที่แก้วตาเดิมการผ่าตัดต้อกระจกใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง เมื่อเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเรียบร้อย แพทย์จะเฝ้าดูว่ามีภาวะเลือดออกหรือปัญหาใดๆ หรือไม่ จากนั้นผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้โดยไม่จำเป็นต้องพักที่โรงพยาบาล
หลังผ่าตัด หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยอาจมีอาการคันหรือรู้สึกไม่สบายหลังการผ่าตัด มีอาการน้ำตาไหลดวงตาไวต่อแสงและสัมผัส ระวังอย่าก้มลงหยิบสิ่งของบนพื้นหรือยกของหนัก และคอยรักษาความสะอาดที่ดวงตาโดยล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัส ใช้ผ้าปิดตาหรือสวมแว่นตาเพื่อป้องกันดวงตา และไม่ถูหรือกดบริเวณตาข้างที่ผ่าตัด
นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรรับประทานยาตามแพทย์แนะนำ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่อาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น และใช้น้ำตาเทียมเพื่อช่วยในการรักษาและลดการเสี่ยงภาวะติดเชื้อ ใน 2-3 สัปดาห์หลังผ่าตัด ซึ่งส่วนใหญ่การรักษาจะดีขึ้นและหายดีใน 8 สัปดาห์ เป็นเวลาเดียวกับที่แพทย์นัดผู้ป่วยไปตรวจดูอาการ
ภาวะแทรกซ้อนของการรักษาโรคต้อกระจก โรคต้อกระจกไม่ปรากฏถึงภาวะแทรกซ้อน มีเพียงภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดรักษา ซึ่งก็มีโอกาสเกิดได้น้อยและเป็นปัญหาที่สามารถรักษาได้ โดยผู้ที่เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูง คือผู้ที่ม่านตาอักเสบ (Uveitis) สายตาสั้นรุนแรง (Severe Short-sightedness) หรือมีภาวะเบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic Retinopathy) รวมทั้งผู้ป่วยที่มีปัญหาในการนอนราบ ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ หรือกำลังรับประทานยารักษาโรคต่อมลูกหมาก
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่สุดในการผ่าตัด คือ ภาวะถุงเลนส์ตาขุ่นหลังผ่าตัดต้อกระจก (Posterior Capsule Opacification: PCO) ซึ่งส่งผลให้การมองเห็นพร่ามัว ผู้ป่วยอาจเข้าใจว่าเป็นอาการต้อกระจกที่ยังไม่หายไป อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยเพียงไม่ถึงร้อยละ 10 ที่เกิดภาวะนี้รักษาได้ด้วยการใช้เลเซอร์ผ่าตัดตาและจะดีขึ้นได้ภายใน 2-3 วัน โดยไม่ทิ้งร่องรอยบาดแผลใดๆ
ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดอาการบวมแดงในตา บวมที่จอประสาทตาและกระจกตา จอประสาทตาแยกตัวจากผนังด้านในของดวงตาทำให้เกิดจอตาหลุดลอก เลือดออกในตาหรือดวงตาติดเชื้อได้ หากผู้ป่วยมีอาการเจ็บ บวมแดง มองไม่เห็น หรือการมองเห็นผิดปกติหลังกลับมารักษาตัวที่บ้าน ควรไปพบแพทย์ทันที
นอกจากนี้ แพทย์อาจพบปัญหาระหว่างการผ่าตัด ได้แก่ การไม่สามารถนำเอาต้อกระจกออกจนหมด เปลือกหุ้มเลนส์ตาเกิดฉีกขาด มีเลือดออกในดวงตา ต้อกระจกตกหล่นไปที่บริเวณหลังตา หรืออันตรายต่อดวงตาบริเวณอื่น เช่น กระจกตา อย่างไรก็ตาม ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต้อกระจกมักรักษาได้ด้วยการใช้ยาหรือผ่าตัดเพิ่มเติม ซึ่งมีโอกาสหายเป็นปกติได้สูง และมีโอกาสน้อยมากเพียง 1 ใน 1,000 ที่การผ่าตัดจะเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร
การป้องกันโรคต้อกระจก การตรวจสายตาเป็นประจำเป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการเผชิญกับอาการที่รุนแรง และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่ออายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ควรได้รับการตรวจดวงตาโดยวิธีขยายม่านตาทุกๆ ปี เพราะไม่เพียงเพื่อตรวจโรคต้อกระจกเท่านั้น แต่รวมถึงโรคทางสายตาชนิดอื่นด้วย เพื่อให้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงทีแม้โรคต้อกระจกจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนเมื่ออายุมาก แต่ก็สามารถชะลอการเกิดให้ช้าลงได้ด้วยตนเอง โดยการปรับพฤติกรรมหรือลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ต่อไปนี้
*ขอขอบคุณ แหล่งข้อมูลอ้างอิง #พบแพทย์ Website : https://www.pobpad.com/ต้อกระจก
โทรหาเราที่เบอร์นี้