เก๊าท์ (Gout) เป็นโรคข้ออักเสบที่ทำให้มีอาการปวดแสบร้อน บวม แดงตามข้อต่ออย่างเฉียบพลันเป็นระยะๆ อาจเกิดขึ้นกับข้อต่อเดียวหรือหลายข้อต่อพร้อมกัน
อาการของโรคเก๊าท์ อาการปวดอย่างรุนแรงตามข้อต่อเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะนิ้วหัวแม่เท้าแต่ก็สามารถเกิดกับข้อต่อหลายส่วนตามร่างกายได้ เช่น ข้อเท้า ข้อศอก หัวเข่า ข้อต่อกระดูกมือ หรือข้อมือ อาการปวดจะรุนแรงในช่วง 4-12 ชั่วโมงแรก จากนั้นจะเริ่มปวดน้อยลงและมีอาการดีขึ้นภายใน 7-10 วัน แต่ในบางรายอาจมีอาการปวดได้นานหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์ นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นได้ เช่น
อาการของโรคเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน มักเป็นๆ หายๆ จนกว่าจะได้รับการรักษา โดยมักเกิดขึ้นในเวลากลางคืนได้บ่อยกว่าช่วงเวลาอื่น อย่างไรก็ตามควรรีบไปพบแพทย์หากผู้ป่วยมีไข้ ปวดข้ออย่างรุนแรงจนทำให้ผิวหนังบวมแดงและแสบร้อนขึ้น เพราะอาการปวดข้ออาจทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดได้ว่าเป็นสัญญาณของโรคข้ออื่นๆ การปล่อยให้โรคพัฒนารุนแรงขึ้นโดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจนำไปสู่อาการปวดอย่างเรื้อรังและสร้างความเสียหายให้กับข้อต่อได้
สาเหตุของโรคเก๊าท์ โรคเก๊าท์เป็นผลมาจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia) ซึ่งเป็นภาวะของร่างกายที่มีการสะสมของกรดยูริกในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดการตกผลึกตามข้อต่างๆ จนเกิดอาการปวดบวมตามข้ออย่างรุนแรงและอาการอื่นๆ ของโรคตามมา
กรดยูริกเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งในเลือดที่ได้มาจากการย่อยสลายสารพิวรีน (Purines) ในเนื้อเยื่อทั่วร่างกายและอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยร่างกายจะมีการปรับสมดุลของกรดยูริกด้วยการกรองจากไตก่อนมีการขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ เมื่อมีปริมาณกรดยูริกมากขึ้นจากการสร้างของร่างกายจากการรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง หรือไตมีความผิดปกติในการกรองสารพิวรีน มักนำไปสู่ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิด แต่พบว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่มีความเกี่ยวข้องกัน เช่น
การวินิจฉัยโรคเก๊าท์ แพทย์จะมีการสอบถามอาการ ประวัติการเป็นโรคเก๊าท์ของบุคคลในครอบครัว การตรวจร่างกายทั่วไป ตลอดจนดูสัญญาณบ่งบอกของโรคอื่นๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลช่วยในการวินิจฉัยโรค หลังจากนั้นจะมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติมอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ เช่น
การรักษาโรคเก๊าท์ โรคเก๊าท์สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาเป็นหลัก ซึ่งแพทย์จะพิจารณาดูจากหลายปัจจัยประกอบในการเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ทั้งอาการของโรค สุขภาพโดยรวมหรือการพูดคุยกับผู้ป่วยควบคู่กับการปฏิบัติตนเพื่อเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของโรค ในบางรายที่ปล่อยให้โรคดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้รักษา แพทย์อาจใช้วิธีการผ่าตัดทดแทนการใช้ยา ซึ่งเป้าหมายของการรักษาจะช่วยในการบรรเทาอาการปวดให้ลดลงอย่างรวดเร็ว และป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดของโรคเก๊าท์ในบริเวณข้ออื่นๆ ในอนาคตรวมไปถึงลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากโรค เช่น โครงสร้างข้อต่อผิดรูป ไตเกิดความผิดปกติ
การปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคเก๊าท์ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางส่วนอาจมีส่วนช่วยให้อาการของโรคทุเลาลงได้ตามคำแนะนำต่อไปนี้
การดูแลเพื่อลดอาการปวด ผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการปวดในเบื้องต้นได้ ด้วยการหยุดเคลื่อนไหวบริเวณที่มีอาการปวดอย่างน้อย 24 ชั่วโมงหลังมีอาการ โดยพยายามยกบริเวณข้อต่อที่ปวดให้อยู่สูง หากมีอาการบวมแดงอาจบรรเทาด้วยการประคบน้ำแข็งหรือรับประทานยาในกลุ่มยาแก้ปวด ยาลดไข้ และยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ แต่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแอสไพริน
การรักษาด้วยการใช้ยา เป็นการใช้ยาในการบรรเทาอาการของโรคให้ลดลง และช่วยป้องกันอาการของโรคที่อาจกำเริบขึ้นในอนาคต ซึ่งตัวยาที่ใช้รักษาโรคเก๊าท์มีอยู่หลายกลุ่ม เช่น
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการของโรคเกิดขึ้นนานๆ ครั้ง หรือไม่บ่อยแต่มีความรุนแรงค่อนข้างมากแพทย์อาจสั่งจ่ายยากลุ่มอื่นที่ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเก๊าท์ เช่น
การผ่าตัด มักใช้ในกรณีที่อาการของโรคมีการพัฒนาจนรุนแรงขึ้นกลายเป็นปุ่มนูนหรือก้อนโทฟี่ เนื่องจากการสะสมของผลึกยูเรตตามเนื้อเยื่อและข้อต่อต่างๆ และการรักษาด้วยยาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเก๊าท์ โรคเก๊าท์สามารถพัฒนาอาการของโรคให้รุนแรงมากขึ้นเมื่อไม่มีการรักษาอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการของโรคบ่อยมากขึ้นไปจนถึงการเกิดก้อนโทฟี่หรือปุ่มนูนใต้ผิวหนังในหลายส่วนของร่างกาย เช่น ตามนิ้วมือ เท้า ข้อศอก หรือเอ็นร้อยหวาย แต่โดยปกติมักไม่ก่ออาการเจ็บปวด แต่เมื่ออาการของโรคกำเริบอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ ปวดตามข้อ ข้อต่อบิดเบี้ยวจนผิดรูปไปจากเดิม นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดนิ่วในไตจากการสะสมของผลึกยูเรตในระบบทางเดินปัสสาวะของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ซึ่งอาจนำไปสู่การทำงานของไตที่ผิดปกติหรือเกิดภาวะไตวาย
การป้องกันโรคเก๊าท์ โรคเก๊าท์ยังไม่สามารถป้องกันได้โดยตรง เนื่องจากการสะสมของผลึกยูเรตทีละน้อยในข้อต่อและเนื้อเยื่อรอบๆ เป็นเวลานานหลายปี จึงทำให้ทราบได้ยากว่าระดับกรดยูริกในเลือดอยู่เท่าใดจนกระทั่งเริ่มมีอาการของโรคแสดงขึ้นมา อีกทั้งสาเหตุที่ทำให้กรดยูริกเพิ่มขึ้นนั้นมาจากหลายปัจจัยและสรุปได้ไม่ชัดเจน
การป้องกันจึงเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเช่นเดียวกับการปฏิบัติตนของผู้ป่วยที่เป็นโรค เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของโรคลง เช่น หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง โดยเฉพาะอาหารทะเล เครื่องในสัตว์ และสัตว์ปีก ดื่มน้ำให้เพียงพอ ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์และน้ำอัดลม
*ขอขอบคุณ แหล่งข้อมูลอ้างอิง #พบแพทย์ Website : https://www.pobpad.com/เก๊าท์
โทรหาเราที่เบอร์นี้